We are Supplier and Manufacturer of Agarwood oil , Agarwoodthailand : Krissana Agarwood Oil ไม้หอมกฤษณา : Agarwood, Agarwood Oil , Agarwood Manufacturers, Agarwood Suppliers, Krissana Oil, Agarwood Perfume, Agarwood Fragrance, Agarwood Essence, Agarwood Incense, Aquilaria, Aquilaria oil, Eaglewood, Eaglewood oil ,Aloeswood, Aloeswood oil, Aquilaria malaccensis, Aquilaria crassna, Aquilaria subintegra, Aquilaria hirta, Agarwood thailand, Agarwoodthailand, Agarwood tree, Krissana Agarwood Oil, ไม้หอม, กฤษณา, น้ำมันไม้กฤษณา,ไม้หอมกฤษณา,ไม้หอม กฤษณา, น้ำมันกฤษณา, ไม้กฤษณา, 
ติดต่อเรา เกี่ยวกับเรา รู้จักไม้กฤษณา เยี่ยมชมสวนคุณณัฐ ผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณา ตลาดไม้กฤษณา Krissana.net Krissana.net

การใช้ประโยชน์จากกฤษณาในทางยา
คนไทยรู้จักใช้มานานแล้ว ดังปรากฏในตำรายาพระโอสถสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2202 กล่าวถึงตำรายาที่เข้ากฤษณาหลายชนิด เช่น "มโหสถธิจันทน์นั้นเอาสมุลแว้ง ดอกมะลิ สารภี พิกุล บุนนาค เกสรบัวหลวง เกสรสัตบงกช จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก แฝกหอม ตะนาว (ชื่อกระแจะเครื่องหอม) เปราะหอม โกฐหัวบัว เสมอภาค น้ำดอกไม้เป็นกระสาย บดทำแท่งละลายน้ำซาวข้าว น้ำดอกไม้ ก็ได้ รำหัดพิมเสนชโลม ถ้ากินแรกขัณฑสกรลงด้วย แก้พิษไข้สันนิบาต อาการตัวร้อนหนัก สรรพไข้ทั้งปวงหายสิ้นแลฯ" หรือใน "ตำรายาทรงทาพระนลาต แก้พระโลหิตกำเดา อันประชวรพระเจ้านัก ให้เอา กฤษณา อบเชยเทศ รากมะลิ รากสลิด รากสมี ชะมด ลดด้วยน้ำดอกไม้เทศ น้ำดอกไม้ไทยก็ได้ รำหัดพิมเสนลง ทรงทาหายแลฯ" เป็นต้น




ตำราพระโอสถรัชกาลที่ 2 พ.ศ.2355 กล่าวถึงตำรายาที่เข้ากฤษณา หลายชนิด เช่น "ยาชื่อมหาเปราะ เอาดอกบุนนาค กฤษณา กะลำพัก ผิวมะกรูด ว่านน้ำ การบูร ไคร้หอม หอมแดง สิ่งละส่วน เปราะหอม 3 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ละลายน้ำดอกไม้แทรกพิมเสน ทั้งกิน ทั้งชโลม ทาก็ได้ แก้พิษลมซางทั้ง 7 จำพวก แลสรรพทางอันจรมานั้น หายสิ้นดีนัก"

นอกจากกฤษณาจะเข้ายาแก้ซาง ดังปรากฏในตำรายาชื่อมหาเปราะดังกล่าว ยังมีคุณประโยชน์ คือ กฤษณาจะเข้ายากำลังราชสีห์ กินบำรุงโลหิต หรือเข้ายาชื่อแดงใหญ่ แก้สรรพต้อมีพิษ แก้จักษุแดง เป็นต้น

ตำรายาสมัยต่อมา ก็ปรากฏตำรายาที่เข้ากฤษณาอีกมากมายหลายชนิด เช่น ตำรายาหอมของนายพันไท หม่อมเจ้ากรรมสิทธิ์ กล่าวถึงการใช้กฤษณาเข้ายาอินทโอสถ แก้ไข แก้สลบ แก้หืด แก้ริดสีดวง แก้ฝีในท้อง จำเริญอาหาร จำเริญธาตุ จำเริญพระชมน์ เป็นต้น ตำรายาไทยระบุว่า กฤษณารสขมหอม สุขุม คุมธาตุ บำรุงโลหิตในหัวใจ (อาการหน้าเขียว) บำรุงหัวใจ บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด แก้ลมซาง แก้ไข้ อาเจียน ท้องร่วง บำบัดโรคปวดตามข้อ ตำรับยาที่เข้ากฤษณามีหลายชนิด เช่น ตำรายาเด็กในคัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวว่ากฤษณาจะเข้ายาแก้ซาง แก้ไข้ แก้พิษ เช่น ยาแดง ยาคายพิษ ยาทาลิ้น ทาแก้เสมหะ ยาแก้ไข และยาล้อมตับดับพิษ ยากวาดแก้ดูดนมมิได้ ยาหอมใหญ่ แก้ซาง แก้ไข้ ยาเทพมงคล ยาสมมติกุมารน้อย ยาสมมติกุมารใหญ่ ยาอินทรบรรจบ ยาแก้ซางเพลิง ยาแก้ท้องเสีย แก้บิดในเด็ก เป็นต้น ส่วนในพระคัมภีร์มหาโชติรัตน์ว่าด้วยโรคระดูสตรี กฤษณา จะเข้ายาบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ เช่น ยาอุดมโอสถน้อย-ใหญ่ ยาเทพรังสิต ยาเทพนิมิต กฤษณาจะเข้ายาบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงกาม เพื่อให้ตั้งครรภ์ เช่น ยากำลังราชสีห์ ในคัมภีร์ธาตุบรรจบ กฤษณายังเข้ายาเทพประสิทธิ์ ใช้แก้ลม แก้สลบ แก้ชัก ปัจจุบันตำรับยาที่เข้ากฤษณาก็ยังมีอยู่ เช่น ยากฤษณากลั่น แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น รวมทั้งยาหอมแทบทุกชนิด เช่น ยาหอมตราห้าเจดีย์ ยาหอมตราฤาษีทรงม้า ล้วนแต่มีส่วนผสมของกฤษณาทั้งสิ้น (สุภาภรณ์, 2537)



ปัจจุบันมีตำรายาที่เข้ากฤษณาอยู่หลายชนิด เช่น ยากฤษณากลั่นตรากิเลน ใช้บำบัดอาการปวดท้อง ท้องเสีย จุกเสียด แน่น หรือยาหอมที่เข้ากฤษณาก็มีอยู่หลายขนาน มีสรรพคุณ คือ ใช้แก้ลม วิงเวียนจุกเสียด หน้ามืดตาลาย คลื่นเหียน อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ขับลมในกระเพาะลำไส้ บำบัดโรคปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ยาหอมสุคนธโอสถตราม้า มีตัวยาที่สำคัญ คือ กฤษณา โกฐหัวบัว โกฐพุงปลา ชะเอม สมุลแว้ง ชะมด พิมเสน อบเชย กานพลู ฯลฯ ยาหอมตรา 5 เจดีย์ มีตัวยาสำคัญหลายชนิด คือ กฤษณา ชวนพก [Magnolia officinalis Rehd. Et wils] โกฐสอ กานพลู เกล็ดสะระแหน่ อบเชย โกฐกระดูก พิมเสน โสยเซ็ง [Asarum sieboldii Miq.] ฯลฯ ยาหอมทูลฉลองโอสถ ประกอบด้วยตัวยาที่สำคัญ คือ กฤษณา โกฐสอ โกฐเชียง ฯลฯ ยาหอมตราเด็กในพานทอง ตัวยาสำคัญ คือ กฤษณา กานพลู สมุลแว้ง ดอกบุนนาค โกฐหัวบัว ฯลฯ ยาหอมหมอประเสริฐ ตัวยาสำคัญ คือ กฤษณา จันทร์เทศ ผิวส้มจีน เกล็ดสะระแหน่ ฯลฯ

ตำราจีน กฤษณาจัดเป็นยาชั้นดี มีรสเผ็ดปนขม ฤทธิ์อ่อน ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน รักษาอาการปวดแน่นหน้าอก แก้หอบหืด เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้โรคปวดบวมตามข้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ปัจจุบันได้นำกฤษณาไปผลิตยารักษาโรคกระเพาะที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง คือ จับเชียอี่ (สุภาภรณ์, 2537)

ประโยชน์ของกฤษณา
แบ่งตามคุณภาพได้ดังนี้คือ
ไม้ลูกแก่น เป็นไม้คุณภาพดีที่สุด สีดำสนิท ใช้เผาให้เกิดกลิ่นหอม สูดดมแล้วเกิดกำลังวังชา และถือเป็นมงคล ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา อิสลามในสุเหร่า หรือตามบ้านอภิมหา-เศรษฐี หรือต้อนรับอาคันตุกะพิเศษ

ไม้ปากขวาน (มีคุณภาพสูงกว่าไม้ตกตะเคียน เกิดจากการฟันต้นไม้ ทิ้งไว้ราว 3 ปี มีสีเกือบดำ ถ้าทิ้งไว้เป็นร้อยปีมีสีดำสนิท เป็นไม้เกรด หนึ่ง) จะนำมากลั่นเป็นหัวน้ำหอม โดยนำเนื้อไม้มาป่น เป็นเส้นเท่าเข็มเย็บผ้า ความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร นำไปตากแห้ง แล้วแช่น้ำไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วนำไปต้มกลั่นด้วยระบบควบแน่น เพื่อให้ได้หัวน้ำหอมบริสุทธิ์ มีสีดำ บรรจุขวดขนาด 1 โตลา หรือ 12.5 ซีซี น้ำหนักประมาณ 11.7 กรัม ราคาในประเทศไทยโตลาละประมาณ 2,500 บาท (มนตรี, 2537) น้ำมันหอมระเหยจากกฤษณานี้ใช้ใน อุตสาหกรรมผลิตน้ำหอมและเครื่องสำอาง ผู้ผลิตน้ำหอม ชาวยุโรปยังสั่งซื้อในราคาสูง เพื่อปรุงแต่งทำน้ำหอมให้มีคุณภาพดี ยิ่งขึ้น ติดผิวกายได้นานขึ้น ส่วนชาวอาหรับจะนิยมใช้น้ำมันหอม มาทาตัว เป็นเครื่องประทินผิว ติดผิวหนังนาน ป้องกัน ตัวแมลงต่าง ๆ ได้อย่างดี นอกจากนั้นยังใช้อุตสาหกรรมเข้าเครื่องยาต่าง ๆ หลายชนิด ส่วนกาก ที่เหลือก็นำไปทำธูปหอมหรือยาหอม

ไม้ตกตะเคียน เป็นไม้คุณภาพรองลงมา(เกิดจากการตัดฟันทิ้งไว้ 6-7 เดือน จนเนื้อไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงน้ำตาลเข้ม)

ปัจจุบันประเทศที่นิยมใช้กฤษณามากคือ แถบตะวันออกกลาง และบางประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งมีความต้องการใช้กฤษณาและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เช่น น้ำหอม สาเหตุที่ชาวมุสลิมแถบตะวันออกกลาง นิยมใช้ไม้กฤษณาเพราะศาสนาอิสลามบัญญัติห้ามชาวมุสลิมดื่มสุรา และใช้เครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม แต่ให้ใช้เครื่องสำอางและน้ำหอมที่ผลิตได้จากสมุนไพรเท่านั้น ชาวมุสลิมจึงได้นำเอาแก่นกฤษณาหรือไม้สับ (ไม้ที่มีกฤษณาแทรกอยู่ในเนื้อไม้ สีน้ำตาลอ่อน) มาเผาด้วยถ่านหินในเตาขนาดย่อม ที่ออกแบบสวยงามเป็นพิเศษ สำหรับการเผาไม้กฤษณาโดยเฉพาะ เพื่อให้ควันและกลิ่นหอมของกฤษณาติดผิวหนัง หรือสูดดมควันเพื่อเป็นยา รักษาโรคหัวใจ และกลิ่นนั้นสามารถ ป้องกันแมลงหรือไรทะเลทรายมากัดจนเกิดแผลพุพองได้ ชาวมุสลิมที่มีฐานะดี นิยมปรุงแต่งผิวกายด้วยน้ำหอมจากไม้กฤษณา ให้เป็นกลิ่นหอมประจำตัว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร จากความนิยมมีน้ำหอมเฉพาะตัวเช่นนี้ ทำให้ได้กลิ่นก็สามารถบอกได้ว่าเป็นบุคคลใดทั้ง ๆ ที่ยังไม่เห็นตัว รวมถึงการใช้ไม้กฤษณาต้อนรับแขกผู้มาเยือน ซึ่งถือว่าเป็นการให้เกียรติแขกอย่างสูง อันเป็นวัฒนธรรมของชนชาวมุสลิมแถบตะวันออกกลาง

ประโยชน์อย่างอื่นของกฤษณา
เปลือก ให้เส้นใย ใช้ทำเสื้อผ้า ถุงย่าม ที่นอน เชือก และกระดาษ
ด้านสมุนไพร สรรพคุณตามตำราไทยคือ
เนื้อไม้ บำรุงโลหิตในหัวใจ บำรุงตับและปอดให้เป็นปกติ แก้ลม แก้ลมซาง แก้ลมอ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มชื่นใจ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ไข้ บำรุงโลหิต รักษาโรคปวดข้อ
แก่นไม้ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับและปอดให้ปกติ
น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้มะเร็ง
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ บำรุงโลหิต แก้ตับและปอดพิการ แก้ไข้เพื่อเสมหะและลม บำรุงโลหิตในหัวใจ ทำตับปอดให้ปกติ คุมธาตุ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดความดันโลหิต
ด้านการเป็นไม้ประดับ ความสนใจของไม้ต้นนี้คือ รูปทรงของลำต้นเป็นรูปเจดีย์คว่ำใบหนาเป็นมันดูเข้มแข็ง และไม่ผลัดใบ เป็นไม้ที่หายาก และมีคุณค่าสูงมาก ถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้สวยงาม แต่ควรพิจารณาพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม


เกี่ยวกับเรา krissana.net รู้จักไม้กฤษณา เยี่ยมชมสวนคุณณัฐ ผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณา ตลาดไม้กฤษณา ติดต่อเรา