![Agarwood, Agarwood Oil , Agarwood Manufacturers, Agarwood Suppliers, Krissana Oil, Agarwood Perfume, Agarwood Fragrance, Agarwood Essence, Agarwood Incense, Aquilaria, Aquilaria oil, Eaglewood, Eaglewood oil ,Aloeswood, Aloeswood oil, Aquilaria malaccensis, Aquilaria crassna, Aquilaria subintegra, Aquilaria hirta, Agarwood thailand, Agarwoodthailand, Agarwood tree, Krissana Agarwood Oil, ไม้หอม, กฤษณา, น้ำมันไม้กฤษณา,ไม้หอมกฤษณา,ไม้หอม กฤษณา, น้ำมันกฤษณา, ไม้กฤษณา,](images/pic_dis03.jpg) |
ลักษณะของเนื้อไม้ ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติ และเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างมาแต่โบราณแล้ว ดังกล่าวถึงในมหาชาติคำหลวงสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 2025 ว่ามีทั้งกฤษณาขาว และกฤษณาดำ ซึ่งมีเนื้อไม้หอม
เนื้อไม้กฤษณา ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนจะตรง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าได้ง่าย ขัดซักเงาไม่ได้ดี ไม่ค่อยทนทาน อยู่ในน้ำจะทนทานพอประมาณ เมื่อแปรรูปเสร็จแล้ว ควรรีบกองผึ่งให้แห้งโดยเร็ว ในการผึ่งจะมีการปริแตกได้ง่าย และมักจะถูกเห็ดราย้อมสีเกาะ ทำให้ไม้เสียสี (กรมป่าไม้, 2486) |
ส่วนเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่างๆ ของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว (Resin) อยู่มาก สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิด คือ Dihydroagarofuran, b. Agarofuran, a-Agarofuran, Agarospirol และ Agarol (มีชัย, 2532)
|